วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

รวมชุดประจำชาติ ในประเทศอาเซียน


1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย
          สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว


2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม
          อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ


3. ชุดประจำชาติของประเทศพม่า
          ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ


4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน
          ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย


5. ชุดประจำชาติของประเทศลาว
          ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย


6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย
          เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด


7. ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์
          ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)


8. ชุดประจำชาติของประเทศไทย
          สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"
          สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา
3. ชุดไทยอมรินทร์
4. ชุดไทยบรมพิมาน
5. ชุดไทยจักรี
6. ชุดไทยจักรพรรดิ
7. ชุดไทยดุสิต
8. ชุดไทยศิวาลัย


9. ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา
          ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง


10. ชุดประจำชาติประเทศสิงคโปร์
          สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้


CR.http://hilight.kapook.com/view/73561

http://www.youtube.com/watch?v=wTp8_mmMd

แนวข้อสอบ อาเซียนศึกษา


ข้อสอบ วิชา อาเซียนศึกษา
1.       อาเซียนคืออะไร
ก.      สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก
ข.      องค์กรแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออก
ค.      ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ง.       ประชาชาติมวลรวมแห่งทวีปเอเชียใต้
2.       สัญลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร
ก.      รวงข้าว 10 รวง
ข.      รวงข้าว 11 รวง
ค.      ต้นข้าว 10 ต้น
ง.       ต้นข้าว 11 ต้น
3.       บุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งอาเซียนแรกเริ่มคือใคร
ก.      ดร.ถนัด คอมันต์
ข.      นายศุภชัย พานิชยศักดิ์
ค.      ดร.มหาเดย์ มูฮัมหมัด
ง.       ดร.ยูซุปต์ แวดาโอ๊ะ
จ.       ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
4.       ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค
ก.      เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีการค้าอย่างเสรีมากขึ้น
ข.      เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำสินค้าของประเทศตนมาขายมากขึ้น
ค.      เพื่อให้ประเทศสมาชิกติดต่อค้าขายกันได้ง่ายขึ้น
ง.       เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันต่อต้านสินค้าของประเทศนอกกล่ม
5.       การประชุมประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเรียกว่า อะไร?
ก.      การประชุมอาเซียนซัมมิท
ข.      การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
ค.      การจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก
ง.       การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม
6.       ข้อใดคือ อาเซียน (ASEAN)
ก.      Asia South East Association Nations
ข.      Association for South East Asian Nations
ค.      Asia South East Association National
ง.       Association for South East Asian National
7.       สมาชิกอาเซียนมีกี่ประเทศ
ก.      10 ประเทศ
ข.      12 ประเทศ
ค.      15 ประเทศ
ง.       20 ประเทศ
8.       อาเชียน บวก 3 มีตัวย่อว่าอย่างไร
ก.      APT
ข.      AST
ค.      ATS
ง.       ATP
9.       อาเซียนมี 3 เสาหลัก ยกเว้นข้อใด
ก.      ประชาคมการเมืองอาเซียน
ข.      ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
ค.      ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ง.       ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
10.    ต้นเหตุการณ์กำเนิดอาเชียน ข้อใดไม่ใช่
ก.      ปัจจัยทางการเมือง – กระบวนการให้ เอกราช/การปลดปล่อย (decolonization process)
ข.      การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ค.      สงครามเย็น
ง.       การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ
11.    ข้อใดเป็นผลความร่วมมือของอาเซียน
ก.      เขตการลงทุนอาเซียน
ข.      เขตการค้าเสรีอาเซียน
ค.      ความร่วมมือด้านบริการของอาเซียน
ง.       ถูกทุกข้อ
12.    เริ่มแรก อาเซียน (ASEAN)จัดตั้งโดยประเทศสมาชิก กี่ประเทศ
ก.      4 ประเทศ
ข.      5 ประเทศ
ค.      6 ประเทศ
ง.       7 ประเทศ
13.    ข้อใดจัดเป็นกลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
ก.      ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม
ข.      สิงคโปร์ พม่า มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย
ค.      ไทย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน
ง.       ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
14.    ASEAN + 3 คือข้อใด
ก.      ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – อินเดีย
ข.      ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – นิวซีแลนด์
ค.      ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – จีน
ง.       ASEAN + ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ – ออสเตรเลีย
15.    ประเทศใดไม่ใช่กลุ่มสมาชิกอาเซียน
ก.      เมียนมาร์
ข.      สิงคโปร์
ค.      เวียดนาม
ง.       ติมอร์-เลสเต
16.    ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดของอาเซียนคือ
ก.      อินโดนีเซียร์
ข.      เมียนมาร์
ค.      กัมพูชา
ง.       เวียดนาม
17.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.      มีการกำหนดเขตการค้าเสรีในอาเซียน
ข.      เศรษฐกิจหลักในอาเซียนคือ เกษตรกรรม
ค.      อาเซียนมุ่นเน้นพัฒนาเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว
ง.       สมาชิกอาเซียนคือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
18.    AFTA เกี่ยวข้องกับข้อใด
ก.      เขตการค้าเสรี
ข.      เขตปกครองพิเศษ
ค.      เขตส่งเสริมการท่องเทียว
ง.       เขตพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ
19.    ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการร่วมกลุ่มของอาเซียน
ก.      เพื่อพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
ข.      เพื่อร่วมกันต่อต้านการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ
ค.      เพื่อส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง
ง.       เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศ
20.    ข้อใดเป็นความสำคัญของไทยที่มีต่ออาเซียน
ก.      เป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียน
ข.      เป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน
ค.      เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่อาเซียน
ง.       เป็นตัวแทนติดต่อค้าขายกับตะวันตก
21.    ข้อใดเป็นประโยชน์ของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ก.      เปลี่ยนมาใช้เงินตราสกุลเดียวกัน
ข.      ทำให้นักลงทุนไม่กล้ากักตุนสินค้า
ค.      มีอำนาจต่อรองทางการค้ากับต่างชาติเพิ่มขึ้น
ง.       ทำให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิ์ในการลงทุนมากกว่าต่างชาติ
22.    ข้อความใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอาเซียน (ASEAN)
ก.      อาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข.      อาเซียนมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเพื่อให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพแสรีภาพ และความเป็นกลาง
ค.      อาเซียนประสบความสำเร็จในการขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและลดการค้ากับประเทศนอกภูมิภาค
ง.       อาเซียนประสบความสำเร็จในการยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค
23.    เพลงประจำอาเซียนคือเพลงอะไร
ก.      Sorry Sorry
ข.      Asian Games
ค.      Asia  air
ง.       The ASEAN Way
24.    คำขวัญของอาเซียนคือข้อใด
ก.      หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม
ข.      หนึ่งประชาคม หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งเศรษฐกิจ
ค.      หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม  หนึ่งวิสัยทัศน์
ง.       หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาชาติ
25.    ข้อใดกล่าวถึงลักสัญลักษณ์อาเซียนได้ถูกต้อง
ก.      ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความมั่นคงและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ข.      ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ค.      ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ง.       ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพ
26.    ข้อใดกล่าวถึงสีของสัญลักษณ์อาเชียนไม่ถูกต้อง
ก.      สีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ข.      สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
ค.      สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
ง.       สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
27.    สำนักงานใหญ่ของอาเซียนอยู่ที่เมืองใด
ก.      กรุงเทพ
ข.      ฮานอย
ค.      กรุงจาการ์ตา
ง.       กัวลาลัมเปอร์
28.    เลขาธิการสมาคมอาเซียนคือใคร
ก.      นายอภิสิทธิ  เวชาชีวะ
ข.      ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ค.      มหาเธร์ มูฮัมหมัด
ง.       ซูซิโล บัมบัง ยุดโฮโยโน
29.    คนไทยคนแรกที่ได้เป็นเลขาธิการสมาคมอาเชียนคือใคร
ก.      แผน วรรณเมธี
ข.      นายชวน  หลีกภัย
ค.      ดร.ถนัด คอมันต์
ง.       นายจุรินทร์ พิสสุวรรณ
30.    ข้อใดเป็นความร่วมมือทางด้านสังคมในอาเซียน
ก.      จัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
ข.      จัดโครงการแรกเปลี่ยนผู้บริหารประเทศ
ค.      ส่งเสริมการปกครองระบบประชาธิปไตย
ง.       ชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ นับถือพุทธศาสนา

กำเนิดอาซียน